วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประเมินผลงาน 100 คะแนน

ขอให้เพื่อน ๆ ครู ญาติและผู้มีเกียรติทั้งหลายร่วมประเมินผลงาน
โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน
ขอขอบคุณทุกท่านค่ะ^^

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ลาโนลิน

In: ความสวยความงาม|ผู้หญิงให้ความเห็น
น้ำมันจากขนแกะ หรือเรียกว่า Lanolin คุณสมบัติและคุณประโยชน์ของลาโนลินเป็นที่รู้กันมาเป็นนานมากแล้วว่าสามารถ ทำให้ผิวอ่อนนุ่มได้ คนตัดขน แกะและผู้ที่ต้องสัมผัสขนแกะตลอดเวลาในหลายประเทศ โดยเฉพาะในนิวซีแลนด์ เป็นที่รู้กันว่าจะ มีมือที่อ่อนนุ่ม นวลเนียนและดูเยาว์วัยอยู่เสมอ เนื่องจากได้สัมผัสกับขนแกะที่เคลือบไปด้วยลาโนลินบริสุทธิ์ ลาโนลิน คือ น้ำมันที่มีความบริสุทธิ์สูง สกัดจากน้ำมันหล่อเลี้ยงบนขนแกะ น้ำมันนี้จะถูกแยกออกมาจาก ขนแกะระหว่างกระบวนการฟอก ทำความสะอาดขนแกะ ลาโนลินที่นำมาใช้ในการผลิตลาโนลิน เป็นลาโนลินที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสูงสุดและมีส่วนประกอบความไม่บริสุทธิ์ น้อยกว่า 3 ส่วนใน 1 ล้านเท่านั้น ลาโนลินเป็นส่วนผส หนึ่งในจำนวนส่วนผสมทุกประเภทของเครื่องสำอางค์ที่ผ่านการทดลองมามากที่สุด โดยมีการรายงานจากประเทศอเมริกา ( USA Cosmetic Ingredient Review safety assessment panel) ว่า “ ลาโนลิน และ วัตถุดิบที่มีลาโนลินเกี่ยวข้อง มีความปลอดภัยในการนำไปใช้เฉพาะที่ของมนุษย์” ลาโนลินเป็นน้ำมันธรรมชาติที่มีอยู่ในขนแกะ เพื่อทำหน้าที่ปกป้องแกะ จากสภาพลมฝน และปกป้องขนแกะไม่ให้เกิดอาการแห้งกรอบ น้ำมันลาโนลินดังกล่าวนี้ สกัดได้จากขนแกะดิบ และใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญ ในผลิตภัณฑ์เพื่อบำรุงผิวมาตั้งแต่สมัยกรีกและอียิปต์ ทางการแพทย์พบว่าลาโนลินเป็นน้ำมันธรรมชาติ [...]

ข้อมูลเอสเทอร์

เอสเทอร์ เป็นสารประกอบทางเคมีที่เกิดจากออกโซแอซิด (หนึ่งในหมู่ oxo , X=O), และสารประกอบไฮดรอกซิล เช่น แอลกอฮอล์หรือฟีนอล เป็นต้น[1] เอสเทอร์ประกอบด้วยกรดอนินทรีย์หรือกรดอินทรีย์โดยที่หมู่ -OH (ไฮดรอกซิล) อย่างน้อยหนึ่งหมู่ถูกแทนที่ด้วยหมู่ -O-แอลคิล (แอลคอกซี) คล้ายกับเกลือที่ใช้แอลกอฮอล์อินทรีย์แทนที่ไฮดรอกไซด์ของโลหะ

เอสเทอร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง มีไขมันและน้ำมันจำนวนมากที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นเอสเทอร์กรดไขมันของกลีเซอรีน โมเลกุลของเอสเทอร์มีน้ำหนักเบา ปกติมีกลิ่นหอมพบในน้ำมันหอมระเหยและฟีโรโมน ฟอสโฟเอสเทอร์เป็นรูปร่างแกนหลักของโมเลกุลDNA เอสเทอร์ไนเตรต เช่น ไนโตรกลีเซอรีน มีคุณสมบัติในการทำระเบิด ขณะที่โพลีเอสเตอร์เป็นพลาสติกที่สำคัญที่มอนอเมอร์เชื่อมโดยเอสเทอร์ส่วนหนึ่ง

กรดบางชนิดที่ปกติจะเปลี่ยนเป็นเอสเทอร์คือกรดคาร์บอกซิลิก, กรดฟอสฟอริก, กรดกำมะถัน, กรดไนตริก, และ กรดบอริก วัฏจักรเอสเทอร์เรียกว่าแลกโทน การตระเตรียมเอสเทอร์โดยทั่วไปทำตามปฏิกิริยาการเกิดสารพวกเอสเทอร์

โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ เอชดีแอล ไลโปโปรตีน

ไขมันในเลือดที่ตรวจได้มีหลายชนิด ที่นิยมตรวจกันมี โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ เอชดีแอล และ
แอลดีแอล เป็นต้น
ชนิดของไขมัน ไขมันในร่างกายแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) จัดเป็นไขมันที่เป็นกลางซึ่งเกิดจากกลีเซอรอลถูก esterify
ด้วยกรดไขมัน1-3 โมเลกุล ระดับไขมันในเลือดที่เรียกว่า fasting triglycerides
ในคนปกติจะอยู่ระหว่าง 40-150 mg/dl ถ้าสูงขึ้นผิดปกติมักจะพบบ่อยในโรคเบาหวาน โรค
หลอดเลือดหัวใจ
เป็นไขมันอีกประเภทหนึ่งในกระแสเลือด เปรียบเสมือน "ผู้ช่วยผู้ร้าย" คนที่มีระดับ
ไตรกลีเซอไรด์สูง พร้อมกับระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลต่ำ หรือ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง
ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
2. ฟอสฟอลิปิด (Phospholipid) มีหลายชนิด เช่น เลซิทิน หรือ phosphatidylinositol
ส่วนใหญ่ฟอสฟอลิปิดจะเป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มเซลต่างๆ
3.โคเลสเตอรอล (Cholesterol) ในเลือดจะพบได้ 2 รูปแบบคือ โคเลสเตอรอลและโคเลสเตอรอล
เอสเตอร์ (Cholesterol ester) เป็นสารตั้งต้นที่สำคัญในการผลิตฮอร์โมนต่างๆ รวมทั้ง
น้ำดีและวิตามินดีด้วย
โคเลสเตอรอล คือ สารไขมันคล้ายขี้ผึ้งที่ปรากฏอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย โคเลสเตอรอลบางชนิด
จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายโดยทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบ ของผนังเซลล์ในร่างกาย และเป็น
ส่วนประกอบสำคัญของฮอร์โมนบางชนิดที่จำเป็นของร่างกาย
4. กรดไขมันอิสระ Free Fatty Acid

* ไขมัน 3 ชนิดแรก จะเกาะกับโปรตีน เพื่อให้ละลายตัวอยู่ในเลือดได้ เรียกว่า "ไลโปโปรตีน" ส่วนกรดไขมันอิสระจะรวมกับอัลบูมิน

การลำเลียงไขมันในร่างกาย
อาหารไขมันซึ่งถูกดูดซึมจากลำไส้รวมทั้งไขมันที่สะสมในเนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue) ล้วนมี
คุณสมบัติไม่ละลายน้ำแต่จะถูกขนส่งไปส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานและทำหน้าที่ต่างๆ
ได้ โดยอาศัยไปกับกระแสเลือดซึ่งเป็น aqueous solution ดังนั้นจึงต้องมีพาหะช่วยลำเลียงได้แก่
โปรตีนต่างๆในเลือด คือ อัลบูมิน(albumin) และ ไลโปโปรตีน(lipoprotein)
- โดยอัลบูมินช่วยลำเลียงกรดไขมันอิสระ
- ส่วนไลโปโปรตีนมีหลายชนิดช่วยลำเลียงไตรกลีเซอไรด์และไขมันชนิดอื่นๆระหว่างตับและ
เนื้อเยื่อต่างๆ

ชนิดของไลโปโปรตีน
ไลโปโปรตีนที่ทำหน้าที่ขนส่งไขมันชนิดต่างๆ จะมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ แกนกลางของไลโปโปรตีน
จะเป็นไขมันชนิดที่ไม่มีขั้ว( nonpolar lipid) เช่น ไตรกลีเซอไรด์ โคเลสเตอรอลเอสเตอร์ เป็นต้น
และล้อมรอบด้วยไขมันชนิดที่สามารถละลายน้ำได้บางส่วน (amphipatic lipid) เช่น ฟอสโฟลิปิด
โคเลสเตอรอล เป็นต้น และมีโปรตีนบางชนิดที่เรียกว่า อะโปโปรตีน (apoprotein) แทรกอยู่ในชั้น
ของไขมันเหล่านี้โดยทำหน้าที่เป็นตัวรับ-ส่งสัญญาน (recepter) ไลโปโปรตีนจะแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ
ตามระดับชั้นเมื่อนำไปปั่นเหวี่ยงด้วยเครื่องปั่นเหวี่ยงกำลังสูง (Ultracentrifuge) โดยจะแบ่งเป็น
4 กลุ่มดังนี้
1 ไคโลไมครอน (Chylomicrons) ทำหน้าที่หลักในการขนส่ง ไตรกลีเซอร์ไรด์ จากลำไส้เล็ก
ไปยังตับ
2 วีแอลดีแอล (Very low density lipoprotein, VLDV) ทำหน้าที่ขนส่งไตรกลีเซอร์ไรด์ จากตับ
ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ
3 แอลดีแอล (Low density lipoprotein, LDL) ประกอบด้วยโคเลสเตอรอล เป็นองค์ประกอบหลัก
ซึ่งจะขนส่งโคเลสเตอรอลเหล่านี้ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ
4 เอชดีแอล (High density lipoprotein, HDL) ประกอบด้วยฟอสโฟลิปิดมากที่สุด และมี
โคเลสเตอรอลรองลงมา จะทำหน้าที่ในการขนส่งไขมันเหล่านี้จากเนื้อเยื่อต่างๆไปกำจัดที่ตับ

การทำงานของไลโปโปรตีน
ไขมันชนิดต่างๆจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่ลำไส้เล็ก โดยกายย่อยให้เป็นกรดไขมันก่อนที่จะดูดซึม
กรดไขมันต่างๆที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ผนังลำไส้เล็กจะรวมตัวกันอีกครั้งในรูปของไตรกลีเซอไรด์
ส่วนโคเลสเตอรอลสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เลยโดยไม่ต้องย่อยก่อน

ไตรกลีเซอไรด์จะรวมตัวกับโคเลสเตอรอลและไขมันชนิดอื่นในอัตราส่วนหนึ่งเป็นไลโปโปรตีนที่เรียกว่า
ไคโลไมครอน เข้าสู่ระบบน้ำเหลืองเพื่อไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น หัวใจ กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อไขมัน เป็นต้น
ที่เนื้อเยื่อเหล่านี้จะมีเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยไตรกลีเซอร์ไรด์ให้เป็น กลีเซอรอลและกรดไขมันอยู่ คือ
ไลโปโปรตีนไลเปส (lipoprotein lipase) ทำให้ไตรกลีเซอร์ไรด์ที่ขนส่งมาโดยไคโลไมครอน 80 %
ถูกย่อยสลายที่เนื้อเยื่อเหล่านี้เพื่อไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงานหรือสะสมไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน

ไคโลไมครอนที่ถูกย่อยเอาไตรกลีเซอร์ไรด์ออกไปจะถูกเรียกว่า ไคโลไมครอนเรมเนนท์ (chylomicron
remnant) เข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปย่อยสลายต่อที่ตับ

ไตรกลีเซอไรด์และโคเลสเตอรอลรวมทั้งไขมันชนิดอื่นๆ จะถูกย่อยสลายและนำไปผ่านกระบวนการผลิต
สารชนิดใหม่ (hydrolysis and metabolism) เช่นการย่อยไตรกลีเซอร์ไรด์จนได้กรดไขมันเพื่อนำ
ไปย่อยสลายต่อจนได้ อะเซติลโคเอ (acetyl coA) สร้างพลังงานให้กับร่างกาย หรือ สร้างน้ำดีจาก
โคเลสเตอร์รอล เป็นต้น นอกจากตับจะย่อยสลายสารต่างๆแล้วตับเองก็ยังเป็นแหล่งสร้างไตรกลีเซอร์ไรด์ โคเลสเตอร์รอล และ
ไขมันชนิดอื่นๆ ด้วยเช่นกันไขมันเหล่านี้จะรวมกับโปรตีนที่สร้างขึ้นในเซลล์ตับเป็นไลโปโปรตีนชนิดที่
เรียกว่า วีแอลดีแอล เพื่อนำไขมันเหล่านี้ที่สร้างจากตับไปยั้งเนื้อเยื่อต่างๆ เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน
เช่นเดียวกับไคโลไมครอน วีแอลดีแอลที่ถูกย่อยด้วยเอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปสเพื่อเอาไตรกลีเซอร์ออกไปจะมีโคเลสเตอร์รอลสูงขึ้น
มากถึง 58% รวมทั้งมีการย่อยเอาอะโปโปรตีนบางตัวออกไปด้วย ทำให้มีความหนาแน่นสูงขึ้น เรียกว่า
แอลดีแอล ทำหน้าที่ขนส่งโคเลสเตอรอลเหล่านี้ไปตามกระแสเลือด โดยปริมาณโคเลสเตอรอล 30 %
ถูกส่งไปยังเนื้อเยื่อต่างๆที่ต้องการโคเลสเตอรอล ส่วนอีก 70% ที่เหลือจะนำกลับไปยังตับ แอลดีแอลที่ขนส่งโคเลสเตอรอลไปตามกระแสเลือดสามารถที่จะจับกับเซลล์ของกล้ามเนื้อหลอดเลือดแดง
ได้เนื่องจากที่หลอดเลือดเหล่านี้มีตัวรับ(recepter) อะโปโปรตีนที่อยู่บนแอลดีแอล ทำให้เป็นสาเหตุ
ของการสะสมโคเลสเตอรอลในเส้นเลือดมากขึ้นอันเกิดเนื่องจากการขนส่งของแอลดีแอลไลโปรตีนที่สำคัญ
ตัวหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นที่ตับและลำไส้เล็กเช่นกัน คือเอชดีแอลจะทำหน้าที่หลักในการขนส่งอะโปโปรตีน
ไปให้กับไคโลไมครอนและวีแอลดีแอลเพื่อใช้ในกระบวนการmetabolismของไลโปโปรตีนทั้งสองและ
รับโคเลสเตอรอลจากเนื้อเยื่อต่างๆกลับไปย่อยสลายที่ตับ หนังสื่อต่างๆ มักเรียกไลโปโปรตีนตัวนี้ว่าเป็น
ไขมันดี


US Task Force แนะนำให้ตรวจเฉพาะโคเลสเตอรอล ในผู้ชายอายุ 35-65 และหญิงอายุ 45-65 ปี
( ประเภท B ) ผู้ที่อยู่ในวัยต่ำหรือสูงกว่านี้อยู่ประเภท C
สำหรับ ไตรกลีเซอไรด์ และเอชดีแอล คำแนะนำอยู่ในประเภท C ( ไม่มีหลักฐานพอ)

ที่แนะนำคือ ถ้าระดับโคเลสเตอรอลสูง หรือมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจก่อนวัยอันควร จึงควร
ตรวจไขมันให้ครบทุกชนิด เพื่อใช้เตรียมการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

หมายเหตุ การมีไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งในหลายๆอย่างของ โรคหัวใจขาดเลือด
ถ้าสนใจอย่าลืมปัจจัยอื่นด้วยได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน อ้วนไป ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่
และมีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้หลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นก่อนวัยอันควร โปรดสังเกตว่า
แม้บางปัจจัยจะแก้ไม่ได้ หรือแก้ยาก แต่ก็มีปัจจัยที่แก้ง่ายๆอยู่หลายอย่าง
* ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ จัดการตรวจเฉพาะโคเลสเตอรอล ไว้ในกลุ่ม ข = " น่าทำ" สำหรับผู้ที่อายุเกินกว่า 35 ปี ถ้าปกติให้ตรวจทุก 3 ปี
แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มมีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแข็ง แนะนำไว้ในกลุ่ม ก = "ควรทำ" และให้ทำทั้ง โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ เอชดีแอล


โคเลสเตอรอลในเลือดมีกี่ชนิด
เมื่อท่านไปรับการตรวจเลือดเพื่อดูระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ค่าโคเลสเตอรอลที่ตรวจวัดได้ จะเป็นผลรวมของ
โคเลสเตอรอลที่ได้มาจาก
แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล LDL,
เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล HDL และ
วี แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล VLDL (คือ ค่าไตรกลีเซอไรด์ หารด้วย 5)

ในคนที่มีระดับไขมันในเลือดปกติร้อยละ 70 ของโคเลสเตอรอลที่วัดได้มาจากแอล ดี แอลและ ร้อยละ 17 มาจาก
เอช ดี แอล ดังนั้นส่วนใหญ่ของผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลสูงจะเกิดจากการที่มีแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง
อย่างไรก็ตามผู้ที่มีระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงมากก็สามารถทำให้ระดับโคเลสเตอรอลรวมสูงได้เช่นกัน

แหล่งข้อมูลเฮกเซน

1.http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=92
2.http://th.wikipedia.org/wiki/ตัวทำละลาย
3. http://library.uru.ac.th/webdb/images/charpa_capro.html

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อสอบสารชีวโมเลกุล

ข้อสอบสารชีวโมเลกุล
1. http://www.thaigoodview.com/library/exam/studentshow/st2546/4-7/no08/test01/index.html

2. http://www.vcharkarn.com/exam/index.php/set/794

3. http://gotoknow.org/blog/kroonit/157040

4. http://school.obec.go.th/mclschool/6.2.2/L2.htm

5. http://www.montfort.ac.th/mcs/dept/science/scienceteachers/nittaya/ex/biochem-test.html

6. http://www.trueplookpanya.com/true/examination_display.php?exam_id=247

7. http://www.proprofs.com/quiz-school/story.php?title=sasasasa_20

8. http://www.montfort.ac.th/mcs/dept/science/scienceteachers/nittaya/ex/morakul-test.html

9. http://www.curadio.chula.ac.th/program-og/classonair/doc52/ch-2009-12-18.pdf

10. http://www.room601.ob.tc/test2.html

เฮกเซน

เฮกเซนเป็นสารเคมีที่ใช้เป็นตัวทำละลายอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ใช้ผสมสีหรือกาวในงานเฟอร์นิเจอร์ งานพ่นหรืองานทาสี งานทากาวรองเท้า สำหรับโรงงานที่ใช้เฮกเซนได้แก่โรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันพืช และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เฮกเซนเป็นของเหลวใสไม่มีสี ระเหยง่าย มีกลิ่นเฉพาะตัว ส่วนมากจะเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเอาไอระเหย แล้วถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด หรือเข้าสู่กระแสเลือดจากการสัมผัสทางผิวหนัง เมื่อสัมผัสสารที่เข้มข้นจะเกิดอาการแบบเฉียบพลัน คือ ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นของไอระเหยในอากาศ ซึ่งไม่ควรเกิน 1000 ส่วนในล้านส่วน อาการเฉพาะที่ได้แก่ ผิวหนังบวมแดง อาจมีตุ่มใส ถ้าเข้าตาทำให้กระจกตาขุ่น ระคายเคือง ถ้าได้รับความเข้มข้นต่ำต่อเนื่องนานกว่า 1 เดือน จะเริ่มมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด ชาที่ปลายเท้าปลายนิ้ว ปวดกล้ามเนื้อคล้ายเป็นตะคริว กล้ามเนื้อจะอ่อนแรง ลีบถึงขั้นชาแขนเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต อาการเหล่านี้ถ้ายังไม่ถึงขั้นรุนแรง จะทุเลาได้เมื่อหยุดสัมผัส และอาจกลับมาเป็นปกติได้หลังจากหยุดสัมผัสประมาณ 10 เดือน